วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โครงงานสาคูยัดไส้



โครงงานอาชีพ
เรื่อง     สาคูยัดไส้



อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ CAI ช่วยสอน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5/4

ภาคเรียนที่2ปีการศึกษา2556


โครงงานอาชีพ
เรื่อง สาคูยัดไส้

คณะผู้จัดทำ
                       นาย สุรสิทธิ์          วงศ์เย็น           เลขที่18
                       นางสาว ดาวนภา   ไชยะพันโท    เลขที่23
                       นางสาว วาสนา       ศรีวงษา         เลขที่32
                       นางสาว  สุปรียา      ศิริทิพย์         เลขที่ 33

อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ CAI ช่วยสอน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5/4

ภาคเรียนที่2ปีการศึกษา2556


บทคัดย่อ
                 ในปัจจุบันขนมไทยเริ่มหมดไปพร้อมกับวัฒนธรรมที่เสื่อมถอยเนื่องจากคนในปัจจุบันได้นำเอาวันธรรมตะวันตกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเพื่อเป็นการอนุรักษ์สูตรขนมหวานไทยพวกเราจึงจัดทำโครงงานเล่มนี้ขึ้นเพื่อศึกษาค้นคว้าสูตร และวิธีทำขนมสาคูยัดไส้ซึ่งเป็นขนมหวานไทยชนิดหนึ่งและได้รวบรวมไว้ในโครงงานเล่มนี้ เพื่อให้บุคคลที่สนใจได้ศึกษาและเป็นแนวทางต่อไป


กิตติกรรมประกาศ
               โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประวัติและวิธีการทำขนมสาคูยัดไส้ที่ถูกวิธีและอร่อย  ขนมสาคูยัดไส้สามารถเป็นอาหารว่างได้ดีทีเดียว ซึ่งขนมสาคุยัดไส้ก็เป็นขนมหวานไทยชนิดหนึ่งถือเป็นการช่วยอนุรักษ์สูตรขนมไทยและวัฒนธรรมไทยไปในตัว
              และการจัดทำโครงงานครั้งนี้สำเร็จรุร่วงไปได้ดัวยดีเนื่องจากได้คำปรึกษาจาก อาจารย์ อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด กลุ่มของพวกเราจึงขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้
















สารบัญ
เรื่อง                                                                                  หน้า
บทที่1 บทนำ                                                                          1
- ที่มาและความสำคัญ                                 
-จุดมุ่งหมายของโครงงาน
-สมมติฐาน
-ขอบเขตการศึกษา
บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                            2
-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
-ประโยชน์ของต้นสาคู
-ฤดูกาลปลูก
-วิธีการปลูก
บทที่3 วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนวิธีดำเนินงาน                                      6
-วัสดุอุปกรณ์
-ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน
บทที่4 ผลการเรียนรู้                                                                    7
-ผลการเรียนรู้
บทที่5 สรุปผลและอภิปรายผลงาน                                                                       15
-สรุป
-อภิปราย
-ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
-ข้อเสนอแนะ
อ้างอิง


บทที่1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
สาคู เป็นชื่ออาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยสาคูเม็ดเล็กนวดน้ำร้อนให้ดิบ ๆ สุก ๆ ปั้นเป็นก้อน มีเนื้อหมูเป็นต้นสับผัดกับเครื่องปรุงทำเป็นไส้แล้วนึ่ง  
สาคู เราสามารถประยุกต์  ได้หลายรสชาติ หลายสี หลายแบบ เช่น
     สาคูไส้หมู สาคูไส้หวาน ซึ่งวัตถุดิบเหล่านี้เราสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นของเราและ หน้าของสาคูเราสามารถทำให้เป็นสี
การทำขนมสาคูยัดไส้ยังเป็นการอนุรักษ์ขนมไทย ให้คนรุ่นหลังสืบทอดกันตลอดไป

จุดมุ่งหมายของโครงงาน
1.            เพื่ออนุรักษ์ขนมหวานไทย
2.            เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
3.            เป็นการสร้างรายได้ระหว่างเรียน
4.            เพื่อฝึกการทำขนมสาคูยัดไส้
5.            เพื่อศึกษาประวัติและวิธีทำขนมไทย
สมมุติฐาน
หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการทำโครงงาน เพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคต และสามารถประยุกต์ขนมสาคูจากสาคูธรรมดาเป็นสาคูรสต่างๆ
ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาจากเว็บไซต์และสอบถามบุคคลที่รู้เกี่ยวกับขนมสาคูยัดไส้

บทที่2
                                                       เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ต้นสาคู

     
สาคู (Sago palm)ชื่อวิทยาศาสตร์ของสาคู : Metroxylon sagu Rottb.
ชื่ออื่นของสาคู: สากู (มลายู-ใต้)
สาคูเป็นพืชที่มีอายุอยู่ได้หลายฤดูฝน ลักษณะใบคล้ายใบคล้า ต้นคล้ายต้นขิง ต้นสูง ๖๐-๑๘๐ ซม. ขึ้นอยู่เป็นกอ หัวเล็กยาว แผ่กว้างลึก อีกชนิดหนึ่งต้นและใบคล้ายพุทธรักษา หัวสั้นใหญ่ มีหัวน้อยอยู่ไม่ลึก
ประโยชน์ของสาคู
แป้งสาคู นับเป็นคาร์โบไฮเดรตที่บริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากธรรมชาติและมีความเหนียวสูงสุด การวิเคราะห์หัวสาคู ประเภทเครโอลประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๖๙.๑ เถ้าร้อยละ ๑.๔ ไขมันร้อยละ ๐.๑ เส้นใยร้อยละ ๑.๓ โปรตีนร้อยละแป้งร้อยละ ๒๑.๗สำหรับหัวสาคูประเภทแบนานาประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๗๒.๐ เถ้าร้อยละ ๑.๓ ไขมันร้อยละ ๐.๑ เส้นใยร้อยละ ๐.๖ โปรตีนร้อยละ ๒.๒ แป้งร้อยละ ๑๙.๔ แป้งสาคูประกอบด้วยเม็ดยาวรี ยาวประมาณ ๑๕-๗๐ ไมครอน พวก แบนานา มีเม็ดแป้งใหญ่กว่าพวกเครโอล เล็กน้อย ส่วนใหญ่ใช้หัวทำแป้ง ซึ่งเป็นแป้งที่ย่อยง่ายมาก ส่งออกสู่ตลาดเป็นแป้งผล สีขาว เรียกแป้งสาคูนิยมใช้เป็นอาหารทารก และทำอาหารอย่างอื่น เช่น ขนมปัง ขนมต่าง ๆ แพทย์ให้คนป่วยด้วยโรคลำไส้รับประทาน แป้งสาคู นอกจากนี้เราใช้แป้งสาคูทำ ผงแบเรียม” (barium meals) และใช้ในอุตสาหกรรมยา ทำแป้งผัดหน้า ทำกาวและทำ กระดาษ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ หัวสาคูใช้เป็นอาหาร โดยต้มหรือเผาเสียก่อน หัวสดนำมาโม่จะได้แป้งสาคูใช้ทำขนมได้ดี ใบและต้น สาคูใช้ในการบรรจุหีบห่อได้ กากที่เหลือจากการทำแป้งแล้วใช้เป็นอาหารสัตว์และทำปุ๋ย คนไทยต้มหรือนึ่งสาคูรับประทาน เป็นของ หวาน แต่ปริมาณสาคูที่ใช้เป็นของหวานมีไม่มากนัก                  
วิธีปลูกสาคู
            

                            
โดยทั่วไป
สาคู ปลูก จากหัว โดยตัดเป็นท่อนสั้นๆ ยาวประมาณ ๕ ซม. บางทีก็รมควันหัวเสียก่อนเพื่อให้งอกเร็วขึ้น บางครั้งก็ปลูกด้วยหน่อ (sucker) บางรายขุดเก็บหัวสาคูจากต้นแก่เท่านั้น ทิ้งต้นอ่อนที่เกิดจากหน่อให้เติบโตต่อไป ไม่ต้องปลูกใหม่ เริ่มปลูกเมื่อต้นฤดูฝน วางหัวที่เตรียมไว้ในหลุม ความลึกของหลุมประมาณ ๑๐-๑๕ ซม. กลบด้วยดิน ถ้าใช้ระยะปลูก ๗๕-๘๐ ซม. หัวที่ใช้เป็นพันธุ์ปลูก จะต้องมีจำนวนหนักประมาณ ๔๘๐-๕๖๐ กก./ไร่
การกำจัดวัชพืช
หลังจากปลูก
สาคูแล้ว ควรดูแลอย่างให้มีวัชพืชแย่งอาหารต้นสาคู โดยกำจัดวัชพืชเมื่อต้นสาคูอายุ ๓-๔ เดือน เมื่อต้นสาคูออกดอกต้องคอยเด็ดทิ้งทันที เพื่อให้อาหารไปเลี้ยงหัวให้โตขึ้นแทนที่จะไปเลี้ยงดอกและเมล็ด
การใส่ปุ๋ยสาคู
การปลูก
สาคูใน ต่างประเทศ ใช้ปุ๋ยผสมเกรด ๘-๕-๑๔ ในอัตราประมาณ ๑๔๐ กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ ๓ เดือนครึ่ง คนไทยปลูกสาคูโดยไม่ใส่ปุ๋ยเคมี อาจจะใส่ปุ๋ยคอกบ้างเล็กน้อย
โรคและแมลง
ต้น
สาคู ไม่มีโรคและแมลงรบกวนมากนักแมลงที่อาจพบ ได้แก่ หนอนม้วนใบ โรคที่พบมีโรคใบจุด ไม่ทำความเสียหายร้ายแรงนัก
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
สาคู มี อายุประมาณ ๑๐-๑๑ เดือน สังเกตได้โดยใบเริ่มเหี่ยวตาย จึงเก็บโดยขุดและเก็บด้วยมือ ตัดแยกหัวออกจากต้นและใบ ผลผลิตของหัวสาคูมีประมาณ ๒,๐๐๐ กก./ไร่ เมื่อขุดขึ้นจากดินแล้ว จะเก็บหัวไว้ได้ไม่นาน จะต้องใช้ภายใน ๒-๗ วัน
                                         

         
                                                     
ฤดูปลูกสาคู
สาคู ขึ้น ได้ในที่ที่มีฝน ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ มม. จึงควรปลูกในเวลาที่มีน้ำหรือสามารถให้น้ำได้เพียงพอตลอดอายุการเจริญเติบโต สาคูชอบอากาศร้อนและชื้น ฤดูปลูกที่เหมาะสม ได้แก่ ฤดูฝน การปลูกและการเตรียมพื้นที่ สาคูชอบที่ที่มีการระบายน้ำดี ดินเป็นกรดน้อยๆ ร่วนและลึก สามารถขึ้นได้ดีตั้งแต่ระดับน้ำทะเล จนถึงความสูงประมาณ ๙๐๐ เมตร เตรียมดินโดยไถและพรวนดิน ให้ร่วนขุดหลุมลึก ๑๐-๑๕ ซม. ระยะหลุมห่างกัน ๓๕-๔๐ ซม. ปลูกเป็นแถวระยะระหว่างแถวประมาณ ๗๕ ซม.







บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนการดำเนินงาน
         วัสดุอุปกรณ์
  1. ปากกา
  2. ดินสอ
  3. ยางลบ
  4. ไม้บรรทัด
  5. สมุด
  6. ลิขวิด
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
  1. แบ่งกิจกรรตามหน้าที่
  2. สืบค้นหาข้อมูล
  3. รวบรวมข้อมูล
  4. จัดทำเป็นรูปเล่มที่สวยงาม
  5. จัดทำเป็นโครงงานนำเสนอ








บทที่ 4
ผลการเรียนรู้
             จากการศึกษาค้นคว้าและฝึกทำขนมสาคูยัดไส้ผลที่ได้คือพวกเราได้เรียนรู้วิธีการทำ               ขนมที่ถูกวิธี และได้ขนมสาคูยัดไส้ที่อร่อยด้วยวิธีข้างล่างนี้
วัสดุอุปกรณ์
1.            ตะหลิ้ว
2.            เตาถ่าน
3.            จาน ชาม
4.            หม้อ
5.            กระทะ
6.            สาก
7.            ครก
8.             มีด
9.            เขียง
      


ส่วนผสม





                     

                       1.         สาคู
2.            หมู
3.            ถั่วเหลือง
4.            น้ำกะทิ
5.            น้ำเปล่า
6.            น้าตาลทรายขาว , น้ำตาลทรายแดง



ขั้นตอนการทำสาคูใส้หมู
วิธีทำ

1. เทน้ำร้อนลงในถ้วยสาคูและคนให้เข้ากัน จากนั้นใช้มือนวดให้แป้งสาคูเริ่มเหนียวจนสามารถปั้นได้ พักได้



2. ตั้งกระทะให้ร้อนและเทน้ำมันลงไปผัดรวมกันกับรากผักชี กระเทียม พริกไทยที่โขลกไว้แล้ว จากนั้นเติมหอมแดงลงผัดให้หอม
                               
          

3. เติมหมูสับลงไปผัดให้สุก ตามด้วยไชโป้วสับละเอียด น้ำตาลปี๊ป น้ำปลา ผัดด้วยไฟอ่อน 10 นาที จนส่วนผสมเริ่มแห้งค่อยเติมถั่วลิสงลงไปผัดให้เข้ากัน พักไส้ไว้ให้เย็น และปั้นเป็นลูกกลมขนาด 2 ซม.

                               
4. ปั้นแป้งสาคูเป็นก้อนกลมขนาด 1 ½ นิ้ว กดให้แบนและวางไส้ลงตรงกลางแป้งสาคูหุ้มแป้งสาคูจนปิดไส้หมด
                        

          
5. ต้มน้ำให้เดือดและนำลงนึ่ง 15 นาที ตักขึ้นคลุกในน้ำมันกระเทียมเจียว เสิร์ฟพร้อมผักเคียงและโรยหน้าสาคูด้วยกระเทียมเจียว เป็นอันเสร็จ
                                             
                                              
   ขั้นตอนการทำสาคูใส้หวาน
1) เตรียมส่วนผสมดังนี้ค่ะ มีเม็สาคูสาคูสำเร็จรูปเม็ดเล็ก 


ล้างน้ำ 1-2 น้ำเบามือนะคะ อย่าแช่นานเม็ดสาคูจะเละซะก่อน สงขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ


จากนั้นนำน้ำเดือดค่อยๆผสมลงไปทีละนิด ใช้มือหรือพายคนให้สาคูจับตัวกันและนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน  สามารถปั้นเป็นก้อนได้โดยไม่ร่วนและไม่แฉะจนเกินไป ระวังช่วงที่ใส่น้ำ ใส่ทีละนิดพลางนวดไปด้วยเพื่อไม่ให้สาคูเละค่ะ เสร็จแล้วพักไว้ก่อนใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำคลุมไว้ไม่ให้แห้งค่ะ


2) ขั้นตอนการเตรียมไส้เตรียมถั่วเหลืองแบบฝ่าซีกแช่น้ำให้นิ่มแล้วนำไปนึ่งให้สุก จากนั้นบดให้ละเอียด


นำไช้โป้หวานแบบละเอียด และรากผักชีสับ ผัดให้หอมเข้ากัน



ใส่ถั่วเหลืองบดลงไปผัด ปรุงรสด้วยเกลือป่น ซอสถั่วเหลือง น้ำตาล และพริกไทยป่น

ชิมรสได้ที่แล้วก้ใช้ได้ พักไว้ให้เย็น

ปั้นให้เป็นก้อนกลมเล็กๆ รอไว้ก่อนค่ะ


3) อย่าลืมเตรียมกระเทียมเจียวหอมๆไว้ด้วยนะคะ 
4) เมื่อทุกอย่างพร้อมก็มาถึงขั้นตอนการปั้นสาคูแล้วค่ะ นำแ้ป้งสาคูปั้นเป็นก้อนกลมก่อน แล้วแผ่ออกให้บางพอหุ้มไส้ที่เราปั้นไว้


บีบให้แป้งห่อไส้จนมิด ถ้าแป้งเหนียวจะปั้นยาก ให้เอามือจุ่มน้ำเล็กน้ยจะช่วยให้แป้งไม่ติดมือและปั้นก้อนสาคูได้ง่ายมากค่ะ


5) เตรียมลังถึงที่จะใช้นึ่งโดยตั้งไฟให้น้ำเดือดก่อนนะคะ ปูก้นลังถึงด้วยใบตองและทาน้ำมันกระเทียมเจียวป้องกันไม่ให้แป้งสาคูติด แต่"หัวหอม" หาใบตองยากเหลือเกินขออนุญาติใช้กระดาษฟอร์ยแทนแล้วกันค่ะ ปูในลังถึงให้มีช่องว่างที่ไอน้ำสามารถผ่านขึ้นมาได้ ทาน้ำมันกระเทียมเจียวกันติดแล้วก็นำแป้งสาคูที่ปั้นไว้ลงมาวางเรียงให้เต็ม เว้นระยะห่างระหว่างก้อนด้วยนะคะ เพราะถ้าสุกแล้วแป้งเค้าจะขยายตัว สาคูเราจะได้ไม่ติดกัน


นำไปนึ่งในน้ำที่เดือดแล้วใช้เวลาประมาณ 8-10 นาที ขึ้นอยู่กับขนาดก้อนที่เราปั้น กะว่าเม็ดสาคูสุกใสทั้งก้อน ก็ใช้ได้แล้วค่ะ



ทาน้ำมันกระเทียมเจียวให้ทั่วทุกก้อน เวลาจัดจานได้ไม่ติดกัน
เตรียมผักชี และพริกขี้หนูไว้กินด้วยจะเข้ากันดี






บทที่ 5

สรุปผลและอภิปรายผลงาน
สรุป
   การทำโครงงานสาคูยัดไส้สีสวยครั้งนี้ทำให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสืบค้นหาข้อมูลและปฏิบัติเป็นรูปเล่มโครงงานและทำเป็นของหวานเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ และนอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาวิธีการทำ และลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
อภิปราย
1.            สามารถนำเอาโครงงานมาเป็นแบบอย่างในการศึกษาข้อมูลในการทำครั้งต่อไป
2.            ใช้ประโยชน์จากรูปเล่มโครงงานไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
3.            นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
4.            ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้กับตนเองและครอบครัว
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
           ในการทำโครงงานเรื่องขนมสาคูยัดไส้ในครั้งนี้ ทำให้ได้รู้และศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้และได้รับประโยชน์ ดังนี้
1.            รู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี
2.            ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆและนำมาจัดทำเป็นรูปเล่มโครงงาน เพื่อการศึกษาต่อไป
3.            นำไปประกอบการเรียนรู้ในวิชาที่เกี่ยวข้อง
4.            ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการทำสาคูยัดไส้







 ข้อเสนอแนะ
เคล็ดลับความอร่อย
         การนวดแป้งก็สำคัญ การนวดแป้งต้องแช่เหมือนการแช่ข้าว และนำมานวดให้แป้งเหนียวตัวพอแป้งเหนียวตัวเราก็นำมาปั้นได้ทันที
                     การผัดไส้   เราต้องผัดไส้โดยการนำกระเทียมลงไปก่อนพอกระเทียมเป็นสี      เหลืองก็ให้เติมหมูสับลงไปพอหมูสุกได้ที่ก็นำสามเค็มลงไปผัดตามด้วยแปะแซะเพื่อให้ไส้เหนียวตัวจากนั้นก็คนไปเรื่อยๆๆๆเวลาคนต้องคนด้วยไฟอ่อนๆๆไส้จะได้หอมและอร่อยยิ่งขึ้น และเวลาการนึ่งต้องนึ่งเวลา8-10นาทีถ้านึ่งนานๆๆจะทำให้สาคูสุกเกินไปและจะทำให้สาคูเหนียวจนเกินไป และจะทำให้ไม่อร่อย









                              แหล่งที่มาhttp://flash-mini.com/thaidessert/128/.htm